กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัย 25 อัพกับ...ริ้วรอยแห่งวันเวลา

ไม่ว่าเทคโนโลยีความงามจะก้าวหน้าไปไกลเพียงใด แต่เรื่องของริ้วรอยก็ยังคงเป็นความกังวลที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเราอยู่ดีละ ค่ะ ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในวัย 25 อัพแล้ว ก็ขอเชิญชวนให้ตามกันมาติดๆ ณ บัดนี้ค่ะ ... ริ้วรอยบนใบหน้านั้นจะเกิดขึ้นแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังทั้งชั้นนอกและชั้นใน โดยปกติแล้วจะเริ่มตั้งแต่เมื่ออายุล่วงเข้าวัย 25 ขึ้นไปแล้ว โดยจะปรากฎเริ่มแรกแถวๆรอบดวงตาก่อน และจะเพิ่มมากขึ้นและลึกขึ้นเรื่อยๆ ตามวันเวลาที่ผ่านไป เมื่อพูดถึงเรื่องริ้วรอยบนใบหน้า ใครๆก็คงคิดว่ามันทำให้เราดูมีอายุและแก่ก่อนวัยแต่สถานเดียว แต่จริงๆแล้ว ริ้วรอยในบางจุดที่เกิดขึ้น ก็มีความดีอยู่ด้วยตรงที่ช่วยเสริมสร้างในเรื่องบุคลิกภาพ ดังนี้เขาจึงแบ่งริ้วรอยออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ ... ประเภทแรกคือ ริ้วรอยที่รับได้ ( acceptable wrinkles ) ได้แก่ รอยตีนกา ร่องแก้ม และรอยที่เกิดจากการยิ้ม ซึ่งทำให้เราดูใจดี โอบอ้อมอารี หน้าตาอิ่มเอิบมีความสุข แต่ริ้วรอยประเภทนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเมื่อแสดงกิริยาหรืออารมณ์ อีกประเภทหนึ่งคือ ริ้วรอยที่รับไม่ได้ ( unacceptable wrinkles ) ได้แก่ ริ้วรอยบริเวณรอบริมฝีปาก หน้าผาก ระหว่างคิ้ว รวมไปถึง ริ้วรอยใต้ตา ซึ่งสองตำแหน่งหลังนี้ มักเกี่ยวข้องกับความเครียดและความวิตกกังวล ทำให้ดูแก่กว่าวัย และเป็นรอยที่เกิดขึ้นถาวร ลักษณะของริ้วรอยบนใบหน้าที่เกิดขึ้นในช่วงอายุต่างๆ ... ปลาย 20 ... เริ่มมีริ้วรอยบางๆ ที่ใต้ตา และมีริ้วรอยรอบๆดวงตาที่เกิดจากการยิ้ม 30 ต้นๆ ... มีริ้วรอยบางๆ รอบดวงตาลึกขึ้น และรวมตัวกันชัดเปิดเป็นรอยเหี่ยวย่น ปลาย 30 ... เกิดรอยเหี่ยวย่นรอบๆ ดวงตา หน้าผาก และระหว่างคิ้วเพิ่มมากขึ้น มีรอยเหี่ยวย่นรอบริมฝีปาก มีรอยเหี่ยวย่นใต้ตาและร่องแก้มหย่อนคล้อยตามแรงโน้มถ่วงของโลก 40 ขึ้นไป ... ปรากฏรอยเหี่ยวย่นรอบดวงตา ริมฝีปาก หน้าผาก และระหว่างคิ้ว มีรอยเหี่ยวย่นจากการหย่อนคล้อยของผิวหน้า และมีเส้นริ้วรอยที่ลำคอ ส่วนสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก็อย่างที่เราทราบๆ กันดีว่า มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ รังสี UV จากแสงแดด ความเครียด และ วัยที่เพิ่มขึ้น โดยสองปัจจัยแรกนั้น เราสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันรังสี UVA และ UVB รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง แต่ปัจจัยที่สามนั้น เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ สำหรับริ้วรอยที่เกิดจากวัยที่เพิ่มขึ้นนั้น มีการศึกษาวิจัยพบว่า เกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ... 1. การผลัดเซลล์ผิวที่ช้าลงของผิวหนังชั้นบน ที่ส่งผลให้ผิวดูแห้งกร้าน สูญเสียความยืดหยุ่นจนเกิดเป็นริ้วรอยบางๆขึ้น 2. ปริมาณของคอลลาเจนในผิวชั้นในลดลง ทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น จึงทำให้เกิดริ้วรอยได้ง่าย 3. คุณภาพความสมบูรณ์ของคอลลาเจนในผิวชั้นในเสื่อมลง ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน คอลลาเจนมีความสำคัญต่อผิวอย่างมาก นักวิจัยด้านความงามจึงพยายามคิดหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องริ้วรอยเหี่ยวย่นโดย เน้นไปที่คอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวชั้นในมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และพบว่า สิ่งที่มีผลเกี่ยวข้องกับคุณภาพและปริมาณของคอลลาเจนในผิวหนังชั้นใน ได้แก่ DHEA หรือฮอร์โมนแห่งความสาว ( youth hormone ) และปฏิกิริยา Glycation ของโครงสร้างคอลลาเจน เจ้าสองสิ่งนี้คืออะไร มาทำความรู้จักกันสักนิดค่ะ DHEA ( Dehydro - Epi - Androgen ) หรือ ฮอร์โมนแห่งความสาว ก็คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบฮอร์โมนเพศของ ผู้หญิง เช่น การรักษาระดับเอสโตรเจน และควบคุมการทำงานของเอนไซม์ เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น ฮอร์โมน DHEA ในร่างกายจะมีปริมาณน้อยลงตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการกระตุ้นเอนไซม์ที่ไปทำลายการสร้างตัวของคอลลาเจน ส่งผลกระทบให้ปริมาณของคอลลาเจนในชั้นผิวลดลง ผิวหนังชั้นในจึงบางลง และสูญเสียความยืดหยุ่น เกิดเป็นริ้วรอยบนผิวหนังที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วน ปฏิกิริยา Glycation ก็คือ การที่กลูโคสทำปฏิกิริยากับโปรตีนในคอลลาเจน และทำให้โครงสร้างของคอลลาเจนเปลี่ยนไป โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เช่น รังสี UV ความเครียด และวัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป โดยปกแล้ว คอลลาเจนในผิวหนังชั้นในที่สุขภาพดี จะมีลักษณะนุ่มและยืดหยุ่นได้ดี แต่เพราะปฏิกิริยา Glycation นี้เองที่ทำให้ความสมบูรณ์หรือคุณภาพของคอลลาเจนลดลง คอลลาเจนที่มีโครงสร้างเปลี่ยนไป จะมีความแข็งกร้านและไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและเกิดเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น