กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก้าวเดินอย่างมั่นใจ ด้วยน่องและเท้าที่แข็งแรง

เพื่อน่องและเท้าที่แข็งแรงและการก้าวเดินอย่างมั่นใจ เพียงคุณใช้เวลาประมาณ 15 นาที ต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แค่ 1 เดือนคุณจะมีน่องที่แข็งแรง สวยงามได้รูป อีกทั้งขาและเท้าที่แข็งแรงด้วย ท่าที่ 1 เขย่งปลายเท้าบนขอบบันได ยืนบนขอบพื้นปูนหรือขอบบันไดอาจจับเสาหรือใช้มือยันกับกำแพงไว้เพื่อช่วยในการทรงตัว จากนั้นให้เขย่งปลายเท้าให้สูงที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้วค้างไว้ในท่านี้ประมาณ 5 วินาที ปล่อยส้นเท้าลงอย่างช้า ๆ จนปลายเท้าทั้งสอง อยู่ต่ำกว่าระดับขอบพื้นหรือขอบบันได (ตามรูป) จากนั้นให้ยกเขย่งปลายเท้าขึ้นไปอีกครั้ง ทำเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปประมาณ 8-12 ครั้ง เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งแล้วอาจเพิ่มจำนวนครั้งได้ตามความต้องการท่าที่ 2 ยืนยืดขา ใช้มือทั้งสองยันกับกำแพงไว้ จากนั้นงอขาข้างขวาขณะที่ก้าวไปข้างหน้า และยืดขาข้างซ้ายจนเหยียดตรงไปทางด้านหลัง กระทั่งรู้สึกได้ถึงความผ่อนคลายและความสมดุลระหว่างขาข้างซ้ายและขาข้างขวา ค้างอยู่ในท่านี้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นจึงสลับขาแล้วทำเช่นเดิมอีกครั้ง ทำสลับกันเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปข้างละประมาณ 8-12 ครั้ง ท่าที่ 3 ยกส้นเท้าขึ้นลง ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายและสบายที่สุด นั่งบนม้านั่งหรือเก้าอี้ แขนทั้งสองวางบนเข่า ยืดตัว ไหล่ตั้งตรง จากนั้นค่อยๆ ยกส้นเท้าขึ้นอย่างช้า ๆ ขณะที่กดมือทั้งสองเบา ๆ ลงบนหัวเข่า ค้างอยู่ในท่านี้ประมาณ 5 วินาที ทำต่อเนื่องกันไปเช่นนี้ประมาณ 8-10 ครั้ง หรืออาจเพิ่มจำนวนครั้งก็ได้ตามความต้องการ ท่าที่ 4 ยืนเขย่งปลายเท้า ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ใช้มือทั้งสองยันกำแพงเอาไว้เพื่อช่วยในการทรงตัว กางเท้าทั้งสองออกให้กว้างขนาดเดียวกับไหล่ แล้วค่อยๆ เขย่งปลายเท้าขึ้นอย่างช้าๆ ค้างไว้ในท่านี้ประมาณ 5 วินาที จากนั้นจึงกลับสู่ท่าเริ่มต้นอีกครั้ง ทำต่อเนื่องกันไปเช่นนี้ประมาณ 8-12 ครั้ง หรืออาจเพิ่มจำนวนครั้งก็ได้ตามความต้องการ โดยมากเรามักละเลยการบริหารร่างกายช่วงล่าง เช่น น่อง ส้นเท้าและปลายเท้า เพราะเป็นส่วนที่ผู้หญิงเราไม่ได้ใช้ในการอวดรูปร่างมากนัก ไม่เหมือนกับ ต้นขา ก้น หรือสะโพกที่คนทั่วไปจะเห็นได้ชัดแต่อันที่จริงร่างกายช่วงล่างก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน แม้มันจะไม่ได้ใช้ในการโอ้อวดความสวยงามอะไร แต่มันก็ช่วยทำให้เรายืนและเดินเหินได้อย่างสง่างามและมั่นใจ และสุดท้ายอย่าลืมว่า หุ่นหรือรูปร่างที่งดงามนั้นยังไม่ดีเท่ากับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายแข็งแรงค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น