กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บุหรี่... ศัตรูร้ายทำลายฟัน

บุหรี่... มีประโยชน์จริงหรือ ? เห็นทีว่าจะมองไม่เห็นประโยชน์อันใดต่อร่างกายของมนุษย์อย่างเรา ๆ นอกเสียจากประโยชน์ทางด้านการค้าที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าเป็นเงินตราได้ไม่ ใช่น้อย ส่วนคุณค่าต่อร่างกายนั้นไม่เห็นว่าจะมีอะไร นอกจากอันตรายของบุหรี่ที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และอีกนานาสารพันอันตรายที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างที่คุณไม่ควรมองข้ามไป นั่นก็คืออันตรายของบุหรี่ต่อตัวฟัน เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่องปาก ดังนี้ บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ Plague (คราบจุลินทรีย์) เกาะติดฟันได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในช่องปากเกิดการเปลี่ยนที่ลิ้น อาจมีคราบขาว การสูบบุหรี่มากทำให้ฟันสึก เกิดการเปลี่ยนสีของตัวฟัน ซึ่งควันของบุหรี่จะไปเกาะจับบนผิวเคลือบฟัน (enamel) ทำให้เกิดคราบสีดำ หรือสีน้ำตาลบนตัวฟันอีกทั้งสารเคมีบางตัวที่มีอยู่ในบุหรี่ทำให้เกิดการ กร่อนของตัวฟัน (erosion) ผู้ที่สูบบุหรี่จัดแน่นอนว่าปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นั่นก็คือกลิ่นปาก มีลมหายใจที่มีกลิ่นผิดปกติหรือมีกลิ่นเหม็น แผลในช่องปากหายช้ากว่าปกติ สิงห์อมควันทั้งหลายที่มีแผลร้อนใน เหงือกอักเสบ แผลถอนฟันและขยันสูบบุหรี่จัด สารเคมีในควันบุหรี่จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเยื่อเมือกในช่อง ปาก ทำให้เกิดแลกระทบต่อการหายของแผลในช่องปากนั่นเอง ที่สำคัญบุหรี่มวนต่อมวนที่คุณกระหน่ำสูบ ทำให้คุณเสียทรัพย์ นั่นคือ รายได้จากตัวเงินของคุณที่นำไปแลกเปลี่ยนเป็นมวนบุหรี่ ที่คุณคิดว่าสูบแล้วสบายหัวใจ ระบายอารมณ์ที่พวยพุ่งออกมาเป็นควัน นอกจากจะทำลายสุขภาพของตัวคุณแล้วคนรอบข้างและคนใกล้ตัวคงโดนรมควันจนปอดดำ กับคุณไปด้วยกันแล้วล่ะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น