กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เสียวฟันใช้ยาสีฟันลดอาการได้จริงหรือ?

เสียวฟันเป็นอาการทรมานและน่ารำคาญใจที่หลายท่านอาจกำลังประสบอยู่ ซึ่งอาการเสียวฟันเป็นอาการที่พบได้บ่อยและเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิฟันผุ มีคราบหินปูนมาก ฟันสึก เหงือกร่น โรคเหงือก เป็นต้น ทั้งนี้อาการสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เสียวฟันจากการรับประทานของเย็นจัด ของหวานจัด แต่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือนาน ๆ ครั้ง หลายท่านเกิดข้อสงสัยว่าการใช้ยาสีฟันประเภทที่มีคุณสมบัติลดอาการเสียวฟัน จะช่วยบรรเทาอาการได้หรือไม่ ? สมาคมทันตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาให้การรับรองสาร 2 ชนิดที่ผสมอยู่ในยาสีฟันว่าสามารถลดอาการเสียวฟันได้ สาร 2 ชนิดนั้น คือ strontium chloride และ potassium nitrate โดยสารทั้งคู่นี้จะไปอุดช่องเชื่อมต่อเล็ก ๆ ที่มีอยู่ระห่วางผิวฟันกับเส้นประสาทฟัน ทำให้เส้นประสาทมีความไวต่อการถูกกระตุ้นน้อยลง ซึ่งยาสีฟันชนิดนี้จะสามารถลดอาการเสียวฟันที่เกิดจากฟันสึกถึงเนื้อฟัน (dentin) และฟันที่เหงือกร่นจนถึงเคลือบรากฟัน (cementum) ได้เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขอาการเสียวฟันที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเหงือก หรือฟันผุได้ คงไม่ใช่เรื่องสนุกแน่หากทุกครั้งที่คุณรับประทานไอศกรีม น้ำหวานเย็นจัด แล้วต้องหยุดชะงักหากอาการเสียวฟันที่คุณเป็นนั้นรุนแรงมาก การมาพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาก็น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด เพื่อให้อาการเสียวฟันที่ทรมานฟันคุณอยู่โบกมืออำลาอย่างถาวรกันเสียทีค่ะ ชวนเพื่อนชาวสนุก! มาสร้างชุมชนที่น่าอยู่ พบเห็นข้อความไม่เหมาะสม ข้อความโฆษณาที่รบกวนการแสดงความคิดเห็นของคุณ โปรดช่วยกันคลิก แจ้งลบ นะคะ เพื่อเราจะได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และเพื่อชุมชนชาวสนุก! ที่น่าอยู่ค่ะ ช่วยกันคลิกเยอะๆ นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น