กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รังสีอัลตราไวโอเลต...ศัตรูร้ายทำลายผิว

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนซึ่งอุดมไปด้วยสายลมและแสงแดดที่แผดจ้าได้ในทุกเวลาในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้พบว่าชั้นบรรยากาศของโลกเริ่มบางลง และเกิดรูรั่วของชั้นโอโซน (Ozone) จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แสงแดดตัวร้าย สามารถสาดส่องลงมายังพื้นผิวโลกได้อย่างง่ายดาย และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รังสีอัลตราไวโอเลต ศัตรูร้ายทำลายผิว ถึงแม้นว่าแสงแดดจะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็เฉพาะแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้าเท่านั้น (และจะมีอันตรายมากในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 นาฬิกา) ซึ่งรังสีอัลตราไวโอเลต จะเริ่มแผดเผาและมีปริมาณมากก็ตั้งแต่ในฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม ส่วนเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน จะมีปริมาณมากกว่าเดือนอื่น ๆ และถึงแม้นว่าท้องฟ้าจะมีเมฆปกคลุมมาก ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจากแสงแดด เพราะรังสีตัวร้ายสามารถเล็ดรอดผ่านลงมาได้อย่างสบาย ๆ รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ UVC เป็นรังสีที่มีความยาวของคลื่นสั้นที่สุด ซึ่งจะไม่ทำอันตรายต่อผิวมากนัก UVA สามารถทำให้ผิวดำคล้ำ (Tanning) สีผิวเปลี่ยนได้ภายหลังจากการตากแดดประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถทำให้เกิดผิวไหม้ได้ UVB สามารถก่อให้เกิด ฝ้า กระ ผิวเป็นผื่น ผิวเหี่ยวย่น หย่อนยาน ทำให้ผิวคุณแก่ลงหรือเสื่อมสภาพลงนั่นเอง และยังทำให้ผิวเกิดอาการแสบร้อน บวมแดง หรือที่เรียกว่า SUNBURN อาการแพ้แดดนั่นเองค่ะ ครีมกันแดดกับรังสีอัลตราไวโอเลต การเลือกใช้ครีมกันแดดนั้นสิ่งหนึ่งที่คุณต้องทราบ คือ ค่าการป้องกันแสดงแดด (Sun Protection Factor) หรือค่า SPF ซึ่งเป็นค่าความสามารถในการกันแดด สมมุติว่าครีมกันแดดมีค่า SPF เท่ากับ 15 ก็หมายความว่าเมื่อคุณทาสารกันแดดชนิดนี้แล้วสามารถป้องกันแสงแดดได้นาน 15 เท่า ซึ่งส่วนใหญ่สารกันแดดจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ครีมกันแดดกลุ่มที่ป้องกันรังสีจากแสงแดด โดยการสะท้อนแสง (Protection by Reflection) สารในกลุ่มนี้เป็นสารกันแดดซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสงป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตผ่านผิวหนังได้ มีสีทึบหรือเนื้อครีมขุ่น และมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีทุกชนิด ช่วยปกป้องผิวจากการถูกแสงแดดแผดเผาได้ สารจำพวกนี้ เช่น ซิงก์ออกไซด์ (zinc oxide) ไตตาเนียม ไดออกไซด์ (titanium dioxide) เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งคือครีมกันแดดโดยใช้สารเคมีในกลุ่มดูดซับพลังงานแสง (Protection by Absorption) ทำให้แสงแดดไม่สามารถผ่านไปทำอันตรายต่อผิวหนังได้ เช่น พาบา (Paba) พาร์ซอล (Parsol) ซึ่งมีสีใส เป็นต้น เลือกใช้ครีมกันแดดอย่างไร การเลือกใช้ค่า SPF นั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่แต่ละคนทำ ถ้าคุณเป็นสาวออฟฟิศไม่ค่อยโดนแดดมากนักควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ก็เพียงพอ หากคุณต้องทำงานกลางแจ้งหรือต้องออกแดดบ่อย ๆ ควรใช้ครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไป และหากร้อนนี้คุณมีโปรแกรมไปเที่ยวทะเลท้าทายสายลมและแสงแดดก็ควรใช้ครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไปและทาซ้ำในทุก ๆ 1 หรือ 2 ชั่วโมง นะคะ อย่ามองว่า... แหมไม่รู้ว่าจะสำอางไปถึงไหน.... เพราะแสงแดดน่ะร้ายกาจกว่าที่คุณคิดไว้มากมายเชียวล่ะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น