กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำสีผมด้วยตนเอง

ผู้หญิงหลายคนบอกว่า การทำสีผมนั้นเท่ากับเป็นการทำลายเส้นผม ก่อให้เกิดการระคายเคืองไปจนถึงการแพ้โดยมีอาการตั้งแต่คันศรีษะ แสบร้อน เกิดตุ่ม พุพอง ไปจนถึงผมร่วง แต่ในความจริงแล้วมีคำอธิบายของมาริลีน เชอร์ล็อค ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการทำสีผม และได้ทำการวิจัยเรื่องผลิตภัณฑ์เส้นผมต่างๆ ได้ให้คำแนะนำว่า ควรทำตามคำแนะนำบนฉลากข้างกล่อง และเอกสารกำกับที่มีอยู่ในกล่องอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาในการทำ ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาขึ้นนั้น เป็นเพราะไม่อ่านฉลากอธิบาย หรือไม่ก็ทิ้งน้ำยาทำสีผมไว้นานเกินไป และนี่คือสิ่งที่เธอแนะนำไว้ค่ะ มาถึงขั้นตอนการทำสีผมด้วยตนเอง 1. อ่านคำแนะนำที่กำกับอยู่บนฉลากสักสองครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มกระบวนการ 2. ระหว่างเริ่มกระบวนการ ใช้วาสลินทาเคลือบกรอบหน้าให้ทั่ว เพื่อกันไม่ให้สีผมไหลเลอะออกมาบนผิวหน้าบริเวณตีนผม 3. หาผ้าขนหนูผืนที่คุณใช้จนเก่าแล้วมาคลุมไว้รอบไหล่ของคุณเป็นการป้องกัน 4. ถอดเครื่องประดับออกให้หมด 5. ถ้าถุงมือพลาสติกที่มีมาในกล่องทำสีผมหลวมเกินไป ใช้ยางหนังสติ๊กรัดรอบข้อมือเพื่อตรึงถุงมือ แต่ถ้าถุงมือแน่นเกินไปใช้สก๊อตเทปแปะยึดแทน เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงมือเลื่อนหลุด 6. ใช้นาฬิกาจับเวลา หรือตั้งนาฬิกาปลุกให้ส่งเสียงดัง เพราะบ่อยครั้งระหว่างคุณรอให้น้ำยาทำปฎิกิริยาเปลี่ยนสีผม คุณอาจดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอะไรเพลินจนลืมเวลา 7. เมื่อคุณผสมน้ำยาพร้อมจะลงมือ เริ่มต้นทาผมจากบริเวณขมับและค่อยๆไล่ไปตามรูปซึ่งมักอธิบายไว้ในฉลากกำกับ เมื่อชะโลมน้ำยาทำสีผมทั่วตามต้องการแล้วให้จับเวลา 8. สัญญาณเตือนหมดเวลา ให้ก้มศรีษะ ล้างน้ำยาออกด้วยน้ำเปล่าใช้นิ้วหมุนวนเบาๆ สางผมที่พันกัน ค่อยๆ สางผมจากโคนสู่ปลาย เมื่อทั่วดีแล้วจึงค่อยลงแชมพูสระผมตามด้วยครีมนวดผม 9. ซับผมให้หมาดแห้ง แล้วเป่าไดร์ จัดทรงตามต้องการ อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงที่ว่าการทำสีผมหาได้ต่างอะไรจากการทำลายสุขภาพผม เส้นผมซึ่งผ่านการทำสีส่วนใหญ่จะดูแห้ง ขาดความเงางาม ยกเว้นในกรณีที่มีการเตรียมตัวก่อนและดูแลหลังการทำสีผมอย่างถูกวิธี ดูแลผมก่อนทำสีผม 7 วันก่อนทำสีผม บำรุงผมด้วยการใช้คอนดิชันเนอร์เข้มข้นหรือมาส์กผม วิธีนี้จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เส้นผมและผลจากการบำรุงเข้มข้นจะทำให้สีผมของคุณเกาะตัวกับเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ วันทำสีผม อย่าสระผมก่อนทำสีผม เพราะน้ำมันธรรมชาติที่ควรอยู่ในเส้นผมจะถูกน้ำกับแชมพูชะออกไปบางส่วน นอกจากนั้นในแชมพูและคอนดิชันเนอร์ส่วนใหญ่ ปัจจุบันจะมีสารบำรุง และปกป้องเรือนผมอันอาจมีผลข้างเคียงทำให้น้ำยาเปลี่ยนสีผมไม่สามารถทำปฎิกิริยาเกาะตัวกับเส้นผมได้อย่างเต็มที่ วันรุ่งขึ้นหลังจากทำสีผม มาส์กผมสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เริ่มจากเจ็ดวันหลังการทำสีผม ส่วนการดูแลผมประจำวันนั้นก็คือรักษาสีให้ติดทนกับเส้นผมโดยใช้แชมพูและคอนดิชันเนอร์สำหรับผมผ่านการทำสี ในการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผมที่ผ่านการทำสี ควรจำไว้ว่าผมของคุณผ่านสารเคมีทั้งตัด ทำสีมาแล้ว ฉะนั้นจงมองหาผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มขื่น บำรุง ปรับบรรเทาและผ่อนคลายความเครียดให้แก่เรือนผมและหนังศรีษะ ถ้าไม่สามารถหาผลิตภัณฑ์สำหรับผมผ่านการทำสีได้ ขอแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผมแห้ง หรือผ่านกระบวนการเคมี "อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ข้ามประเภทปะปนกัน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น