กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สิวบอกปัญหาสุขภาพ

นอกจากจะเป็นอุปสรรคความงามตัวสำคัญแล้ว สิวยังสามารถบอกถึงสุขภาพของเราได้ด้วยนะคะ...เพราะสถาบัน Leonard Drake ได้คิดค้นวิธีการวิเคราะห์ผิวแบบลงลึก ด้วยการผสานความรู้ในการดูแลผิวหน้าแบบตะวันตกเข้ากับศาสตร์การอ่านใบหน้า แบบจีน ซึ่งสามารถบอกได้ว่าสิวที่ขึ้นตามตำแหน่งต่าง ๆ บอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใดบ้าง

โซนที่ ตำแหน่งของสิว อวัยวะ ที่เกี่ยวข้อง สาเหตุ ของอาการที่ผิดปกติ
1 หน้าผาก ด้านซ้าย การย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ต่อมหมวกไต มีความเครียดสูง ล้างหน้าไม่สะอาด เพราะทารองพื้นหรือแต่งคิ้วมากไป
2 หว่าง คิ้ว ตับ อาจมีปัญหาในการย่อยแล็คโตส (ดื่มนมไม่ได้) กินรสจัดหรือกินอาหารดึกเกินไป
3 หน้าผาก ด้านขวา การย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ต่อมหมวกไต มีความเครียดสูง ล้างหน้าไม่สะอาด เพราะทารองพื้นหรือแต่งคิ้วมากไป
4, 10 ใบหู ทั้งสองข้าง ไต ล้างแชมพูหรือสบู่ออกไม่หมด ใช้โทรศัพท์มือถือมากเกินไป ดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ หรือกินเนื้อสัตว์มากเกินไป
5, 9 แก้ม ทั้งสองด้าน - แก้มส่วนบน ไซนัสและปอด
- แก้มส่วนล่าง เหงือกและฟัน
สูบบุหรี่จัด หรือแพ้ควันบุหรี่ ภูมิแพ้ เป็นหวัดเรื้อรัง หรืออาจใช้บลัชออนและรองพื้นไม่เหมาะสม ถ้าเป็นริ้วรอยลึกบริเวณโหนกแก้มอาจบ่งบอกถึงปัญหาเรื่องปอดหรือการหายใจ ถ้ามีสิวแบบเป็น ๆ หาย ๆ ที่แก้มด้านล่างอาจมีปัญหาเรื่องเหงือกและฟัน หรือโทรศัพท์มือถือไม่สะอาด
6, 8 รอบดวง ตาทั้งสองข้าง ไต และปัญหาภูมิแพ้ เครื่องสำอางที่ใช้อาจไม่เหมาะ หรือใส่แว่นที่เสียดสีมาก รอยคล้ำอาจเกิดจากการมีสารพิษตกค้างในร่างกายมาก หรือพักผ่อนน้อย เปลือกตาหากมีความระคายเคืองอาจมาจากการเป็นภูมิแพ้หรือขาดสารอาหาร
7 จมูก และเหนือริมฝีปาก หัวใจและระบบสืบพันธุ์ หากมีผิวสีแดงเข้มที่จมูก อาจบ่งบอกถึงโรคความดันโลหิตสูง การอุดตัน หรือสีผิวไม่สม่ำเสมอบอกถึงผลกระทบจากฮอร์โมน เช่น กำลังมีประจำเดือนวัยทอง การใช้ยาคุมกำเนิด
11, 13 ใต้ริม ฝีปากด้านซ้าย และขวา รังไข่ อาจทำความสะอาดได้ไม่พอ หรือมาจากความสมดุลทางฮอร์โมน หากมีปัญหาการอุดตันช่วงใบหูอาจแสดงว่าฟันกรามมีปัญหา หรือว่าเพิ่งผ่าตัดฟันมาหรืออาจเกิดจากมีรอบเดือน
12 ปลายคาง กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาจกินอาหารรสจัดเกินไปจนลำไส้มีปัญหาในการดูดซึม
14 ลำคอและ หน้าอก --- ความเครียด

ลองสำรวจสิวของคุณดูสิคะ.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น