กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หินปูน... ศัตรูร้ายทำลายฟัน

ฟันขาวเรียงตัวสวย ใครๆ ก็ปรารถนาทว่าหากขาดการดูแลเอาใจใส่ฟันซี่สวยก็มีเพื่อนใหม่ที่อยู่ไม่ไกล้ไม่ไกลที่คอยบ่อนทำลายฟันของคุณให้ผุพังไปโดยใช้เวลาไม่นาน คือ "หินปูน" นั่นเอง หลายคนสงสัยว่าหินปูนในปากที่จับเกาะอยู่บนตัวฟันนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หินปูนที่เกิดขึ้นในปากนั้นเกิดจากเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามตัวฟัน เป็นคราบเหนียวสีขาวขุ่น ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า คราบจุลินทรีย์ ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารให้กลายเป็นกรด และกลับมาทำลายเหงือกและฟันทำให้เกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบ ถ้าคราบจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่ถูกกำจัดออกไป จะเกิดการตกตะกอนของแคลเซียม จากอาหารและน้ำลายกลายเป็นก้อนสีขาวอมเหลือง สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ในปัจจุบันจึงมักเรียกว่าหินน้ำลาย ซึ่งบนหินน้ำลายนี้จะถูกปกคลุมด้วยคราบจุลินทรีย์อีกชั้นหนึ่ง ทำให้เกิดการสะสมของหินปูนได้ในที่สุด ในบางครั้งเราจะพบหินปูนอยู่มากจนปิดตัวฟันทั้งหมด ซึ่งจะมีมากในบริเวณด้านหลังของฟันหน้าด้านล่าง และบริเวณที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง หินปูนนี้มีโทษต่อฟันของเรา เพราะเป็นสาเหตุทำให้กระดูกเบ้าฟันมีการละลายตัว เหงือกบวมเป็นหนองฟันโยกคลอนและหลวม บางครั้งอาจหลุดออกจากกระดูกเป้าฟันได้ในที่สุด ซึ่งเป็นอาการของโรคปริทันต์อักเสบนั่นเอง การกำจัดคราบหินปูนนั้นต้องมาพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนออกอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน นอกจากนี้การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คุณไม่ควรละเลย เพื่อสุขภาพปากและฟันที่แข็งแรงมีสุขภาพสมบูรณ์ดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น