กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มาดูกัน

เนื่องจากมีข้อมูล ต่างๆเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนทั้ง ถูกและผิดออกมาให้เราอ่านเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า ขอบคุณข้อมูลโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูต้าไธโอนอยู่ ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG

ลักษณะของกลูต้าไธโอน

  • กลูต้าไธโอนเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ ตับ (จนถึง 5 mM)
  • กลูต้าไธโอนถูกสังเคราะห์ โดย Glutathionesynthase โดย การใช้กรดอะ มิโน 3 ชนิด : L-cysteine, L-glutamate และ glycine
  • ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione disulphide (GSSG)
  • อำนวยความสะดวกต่อ การทำงานของภูมิ คุ้มกัน
  • เป็นสาร mitochondrial antioxidant
  • เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
  • Phase II detoxification pathway
  • ช่วยการป้องกันระบบ ประสาท

สาเหตุการลดลงของกลูต้าไธโอน

  • แสดงให้เห็นเด่นชัด อย่างเฉียบพลัน ในการขาดกลูต้าไธโอนเมื่อรับ ประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
  • ผลของการลดลงของกลูต้าไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและ เสียชีวิตได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
  • การขาดกลูต้าไธโอนเป็น ผลใน tissue oxidative stress สามารถ เกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็น G6PD (glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH และ reduced Glutathione ลดลง
  • Oxidative stress เป็น สาเหตุให้ขาดกลูต้าไธโอนใน fragile erythrocyte membranes

ข้อบ่งใช้และการ ใช้ประโยชน์ของกลูต้าไทโอน

  • รักษาพิษจากยาพาราเซ ตามอล
  • ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบา หวาน ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร

ผลข้างเคียงของการ ใช้กลูต้าไธโอน

  • ผิวหนังแดง
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หอบหืดเฉียบพลัน
  • อาจเกิด anaphylactic reaction จาก การปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์

ข้อห้ามและควร ระวังเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลู ต้าไธโอน
  • ผู้ที่ปลูกถ่าย อวัยวะ
  • แพ้, หอบหืด

สารที่ทำให้ขาดกลูต้าไธโอน

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • ยาพาราเซตามอล
  • ยา
  • ออกกำลังกายหนัก
  • รังสี X Y และยูวี
  • Xenobiotics
  • Estradiol

บทบาทของกลูต้าไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก

  • พิษจากยาพาราเซตามอล
  • โรคมะเร็ง
  • xenobiotics detoxification
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
  • โรคปอดอุดกั้น เรื้อรัง
  • สูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเสียง
  • ผู้ชายที่เป็นหมัน
  • ออทิสติก
  • โรคเหนื่อยเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ
  • ความดันโลหิตสูง
  • metabolic syndrome
  • autoimmune thyroiditis

ขอบคุณบทความโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรวันนี้มีคำตอบ

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การดูแลผิวพรรณขณะตั้งครรภ์

เมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระ และอารมณ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลายชนิดผิวพรรณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมักก่อให้เกิดความกังวลใจกับคุณผู้หญิงไม่น้อย ดังนั้นเรามารับรู้ถึงภาวะปกติ และไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณขณะตั้งครรภ์เพื่อจะได้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกันอีกต่อไปค่ะ รอยคล้ำ จะสังเกตได้ว่าบริเวณข้อพับของร่างกายมีสีเข้มขึ้นตั้งแต่รักแร้ ขาหนีบ ต้นขาด้านใน รวมถึงหัวนมและอวัยวะเพศ แต่ที่กลัวกันมากที่สุด คือ มีฝ้าขึ้นที่หน้า โดยเฉพาะคนที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ กระที่เป็นอยู่แล้วก็มักสีเข้มและเพิ่มจำนวนมากขึ้นแต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ รอยคล้ำต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ จางลงอย่างช้า ๆ ภายหลังคลอดได้ค่ะ สิว เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างตั้งครรภ์ มีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันทำให้บางคนเกิดเป็นสิวเห่อขึ้นที่หน้าและตัวได้แต่กับบางคนก่อนตั้งครรภ์เป็นสิวง่าย พอตั้งครรภ์แล้วสิวหายหน้าผ่องก็มีนะคะ รอยแตกลาย เกิดขึ้นจากการยืดตัวของผิวหนังขณะตั้งครรภ์มักพบบริเวณหน้าท้อง สะโพก ก้น หน้าอกต้นขา อาจเป็นสีชมพู ม่วง หรือดำในคนผิวคล้ำ บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วยหลังคลอดอาจจางลงได้เล็กน้อย ติ่งเนื้อสีน้ำตาล ดำ มักเกิดขึ้นที่คอ รักแร้ อันนี้หลังคลอดก็ไม่ยอมหายไปไหนคะ การติดเชื้อรา ที่ผิวหนังบริเวณที่มีการอับชื้น เนื่องจากคนท้องมักขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย จึงเกิดจุดอับชื้นบริเวณซอกพับที่สรีระมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใต้ราวนมรักแร้ขาหนีบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อราแคนดิดาได้ง่าย โรคผื่นคันในคนท้อง มีลักษณะเป็นผื่นลมพิษตุ่มแดง คัน ที่ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีมักเป็นเมื่อครรภ์แก่ (3 เดือนก่อนคลอด) ผื่นคันนี้อาจลามกระจายทั้งตัวได้ แต่หลังคลอดผื่นก็จะค่อย ๆ จางหายไป แนวทางการดูแลรักษาผิวพรรณขณะตั้งครรภ์ รอยคล้ำที่หน้า กระ ฝ้า สามารถดูแลได้โดยการใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด การใช้ Whitening บางชนิดก็พอช่วยได้บ้าง เช่น ยาในกลุ่ม Vitamin C หรือ AHA แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดรอยดำที่มีกรด Vitamin A เป็นส่วนประกอบ ส่วนรอยคล้ำที่ผิวตัว อย่าพยายามไปขัดหรือถูแรง ๆ เลยค่ะ ไม่ออกแน่ ๆ ซ้ำยังมีโอกาสเกิดผื่นแพ้จากสมุนไพรที่ใช้พอกด้วย สิว เมื่อมีสิวเห่อที่หน้า ปรึกษาคุณหมอผิวหนังดูแลดีกว่าค่ะ ซึ่งคุณหมอนิยมให้แต่ยาทา ไม่ค่อยจ่ายยารับประทาน และงดยาทาสิวบางชนิด รวมถึงการทำไอออนโตโฟโน หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่สำคัญเมื่อมีสิวขึ้น อย่าแกะหรือบีบสิวนะคะ เพราะเมื่อสิวหายแล้วจะทิ้งรอยดำ หรือรอยแผลเป็นไว้อีกนาน รอยแตกลาย สามารถดูแลด้วยการใช้ครีมบำรุงให้ความชุ่มชื้นกับผิวเป็นประจำ ไม่เกาและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ โปรตีน ส่วนแป้งของหวานและไขมัน ควรทานแต่พอประมาณ ดูแลน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คุณหมอแนะนำ ติ่งเนื้อ ยังไม่ต้องไปทำอะไรนะคะ หลังคลอดค่อยให้คุณหมอตัดออก หรือจี้ออกด้วยเลเซอร์ก็ได้ค่ะ เชื้อรา ควรดูแลรักษาความสะอาด อย่าให้เกิดการอับชื้นและหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่อผิวหนัง เมื่อเกิดผื่นคันควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อยาทา หรือยารับประทานเองค่ะ ถ้าปฏิบัติตามที่หมอแนะนำแล้ว แต่ฝ้าก็ยังคงขึ้น รอยแตกก็ยังเกิด ผิวก็ยังคล้ำไขมันก็ขยันมาเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก็อย่าเพิ่มวิตกกันไป มันเป็นไปตามธรรมชาติเดี๋ยวหลังคลอดฮอร์โมนลดลง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ก็ค่อย ๆ ลดลงเอง คุณควรจะดูแลสุขภาพกายใจของคุณ และลูกน้อยในครรภ์อย่างดีที่สุดจะดีกว่า ปัจจุบันวิวัฒนาการของยาและเครื่องมือต่าง ๆ สามารถลดรอยหมองคล้ำ รอยแตก และเซลลูไลท์อย่างได้ผลเดี๋ยวหลังคลอดค่อยมาสวยกันใหม่ก็ยังไม่สายค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น